ข้อมูลทั่วไป

การยางแห่งประเทศไทย Rubber Authority of Thailand
ความหมายตราสัญลักษณ์ เส้นรอบวง เปรียบเสมือนต้นยางเป็นรอบวงปี แสดงถึงความเจริญเติบโต ภายในมีต้นยางพาราซึ่งมีความสำคัญที่สุดแทนองค์กรการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รอยกรีด 3 รอยแสดงถึงกระบวนการผลผลิตของยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และการรวมของ 3 องค์กร การออกแบบ ประกอบด้วยหยอดน้ำยางสีขาววางอยู่กลางปลายหยดน้ำยางรองรับจากรอยกรีด สอดแทรกด้วยลายกนกแสดงถึงเอกลักษณ์ไทยคล้ายดอกบัวแย้ม กลีบใบแสดงถึงการบริหารองค์กร กยท. ในรูปแบบยุติธรรม โปร่งใส บูรณาการระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพาราโดยมี กยท. เป็นตัวกลาง ตาม พ.ร.บ การยางแห่งประเทศไทย 2558 และหยดน้ำยางสีทองวางซ้อน หมายถึง รายได้ความมั่นคง ความเจริญ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
โดยภาพรวมกราฟิกของ ตราสัญลักษณ์  นี้แสดงถึง การเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตการแปรรูปขั้นต้น แปรรูปขั้นกลาง เป็นผลิตภัณฑ์ยางอุตสาหกรรมและการตลาดเพื่อให้เกษตรกรมีกำไรมั่งคง และการเพิ่มมูลค่ายางพาราของไทยด้วยการให้บริการเป็นเลิศ ทั้งยังเสริมสร้างสังคมชาวสวนยางสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
ความเป็นมา
การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เกิดจากการรวม 3หน่วย ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์การสวนยางและสถาบันวิจัยยาง โดยมีพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 มีวัตถุประสงค์ให้การยางแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับเงินของกองทุน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนา เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับยางพาราและดำเนินการให้ระดับราคายางมีเสถียรภาพ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้มีการปลูกแทนและการปลูกใหม่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง ด้านวิชาการ การเงิน การผลิต การแปรรูป การอุตสาหกรรม การตลาด การประกอบธุรกิจและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น บริหารงานโดยคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย มีผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหารสูงสุด
 
วิสัยทัศน์
 
"กยท. เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ”
 
ค่านิยมองค์กร


R = Responsibility รับผิดชอบต่อตนเอง องค์กรและสังคม
A= Advance to Excellence ก้าวสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ
O = Ownership ผูกพันเป็นเจ้าของร่วมกัน
T = Trust มีความน่าเชื่อถือ
 
พันธกิจ
 
บริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้เกิดความคุ้มค่า เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และตอบสนองสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งระบบ
 
ต่อเกษตรกร             ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง
สถาบันเกษตรกร      สร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
 
 
ต่อผู้ประกอบ            ส่งเสริมการค้าให้มีความเป็นธรรม เพิ่มขีดความสามารถ
กิจการยาง
 
ต่อประเทศ               ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการ
                               ผลิตการค้าและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็น
                               มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างกลไกรักษาเสถียรภาพราคายาง

 
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างรายได้จากการบริการและดำเนินธุรกิจ
กลยุทธ์ที่ 1 การประกอบธุรกิจจากทรัพย์สินที่มีอยู่เดิม
กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างรายได้จากโอกาสในธุรกิจใหม่
กลยุทธ์ที่ 3 การลดค่าใช้จ่าย และปรับโครงสร้างหนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่า
กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างกลไกรักษาเสถียรภาพราคายาง
กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ที่ 3 การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
 
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเพื่ออนาคต
กลยุทธ์ที่ 1 การส่งเสริม และพัฒนางานวิจัย
กลยุทธ์ที่ 2 การถ่ายทอดงานวิจัย
กลยุทธ์ที่ 3 การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
กลยุทธ์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์ที่ 4 การหลอมรวมเพื่อความเป็นหนึ่ง